ความสัมพันธ์ไทย-จีน

ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า


การดำเนินการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนมี ทั้งความสัมพันธ์ในภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
      ภาครัฐบาล       
·       ข้อตกลงทางการค้า  เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1978
·       พิธีสารว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย จีน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1978
·       ข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - จีน  เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1985
·       ข้อตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-จีน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2001
·       ความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2003
·       ความ ตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วันที่ 18 ตุลาคม 2003
·       บันทึก ความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชน จีนว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจ วันที่ 18 ตุลาคม 2003
  ภาคเอกชน        
·       ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) กับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งชาติจีน  เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1993
·       ข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้ามณฑลเหอเป่ย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2000
·       บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-จีน และสภาธุรกิจจีน-ไทย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2001

ในช่วงปี 2005-2007 การค้าระหว่างไทย-จีน พบว่า มีมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยปี 2007 การค้าทวิภาคีมีมูลค่า 31,062.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 ของจีน เป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 8 และเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 15 ของจีน ซึ่ง ผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความต้องการสินค้าของประเทศจีนจากประเทศไทยมี ปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตลาดสินค้าของจีนยังคงมีแนวโน้มเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต รวมทั้งแนวโน้มความต้องการสินค้าของประเทศไทยจากประเทศจีนก็มีลักษณะเช่น เดียวกัน

ในปี 2007 มูลค่าการส่งออก  14,836.5  ล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5   สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   ยางพารา  เคมีภัณฑ์  เม็ดพลาสติก  แผงวงจรไฟฟ้า    และน้ำมันสำเร็จรูป     สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่     น้ำมันดิบ   ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  ข้าว   เลนซ์   เส้นใยประดิษฐ์    และน้ำตาลทราย     เป็นต้น
มูลค่าการนำเข้า  16,225.6  ล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ  19.3    เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าสำคัญ    ได้แก่  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน   เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ    เหล็กและเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์   เคมีภัณฑ์          ส่วนสินค้านำเข้าที่ลดลง   ได้แก่   เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  แผงวงจรไฟฟ้า  หลอดภาพโทรทัศน์  ด้ายและเส้นใย     เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค  รถไฟ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  และธุรกรรมพิเศษ  เป็นต้น
                                        
ตารางที่ 6-1 : แสดงรายการสินค้าส่งออกที่สำคัญจากไทยไปจีน
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ
2005
2006
2007

Jan 2008
1.
สินค้าเกษตรกรรม
1561.3
2347.1
2535.3
291.5
2.
สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร
103.8
196.4
249.1
16.2
3.
สินค้าอุตสาหกรรม
6638.2
8135.7
10668.7
904.1
4.
สินค้าแร่แลเชื้อเพลิง
823.9
1015.5
1364
174.9
5.
สินค้าหมวดอื่นๆ
40.3
33.3
19.5
0.0
มูลค่ารวม

9167.5
11727.9
14836.5
1386.7
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

                         
ตารางที่ 6-2 : รายการสินค้านำเข้าที่สำคัญจากจีนมาไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ
2005
2006
2007

Jan 2008
1.
สินค้าเชื้อเพลิง
61.3
32.6
167.9
17.9
2.
สินค้าทุน
4944.1
6322.7
6602.7
656.8
3.
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
4540.7
5215.2
6276.6
650.8
4.
สินค้าอุปโภคบริโภค
1470.1
1859.2
2946.0
306.3
5.
ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง
111.6
157.8
216.6
28.3
6.
สินค้าหมวดอื่นๆ
30.2
16.5
15.8
0.4
มูลค่ารวม

11158.0
13604.0
16225.6
1660.4

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ